Aspect Ratio(สัดส่วนของภาพ)ขนาดต่างๆมีผลต่อการนำเสนออย่างไร?

blog image

Aspect Ratioคือสัดส่วนของภาพอัตราส่วนของแนวขวางและแนวดิ่งในการสร้างภาพ ซึ่งภาพแต่ละสัดส่วนที่นำมาใช้ในการถ่ายวีดิโอ(vdo production) หรือถ่ายภาพ (Photography)นั้นมีจุดประสงค์ในการใช้ต่างกันและยังให้อารมณ์ของภาพต่างกันอีกด้วยครับ

image

1. สัดส่วนของภาพขนาด 21:9 หรือ 2.35:1 (wide movies) เป็นขนาดที่ใช้สำหรับภาพยนต์เป็นหลัก ให้ภาพที่มุมมองที่กว้างสบายตาอยู่จอภาพที่ใหญ่จะดูเต็มตา แม้ปัจจุบันงานถ่ายวีดิโอ(vdo production) มักถ่ายมาเป็น 16:9 แล้วนำมาใส่เส้นสีดำบนและล่างให้เป็นสัดส่วน 2.35:1 เพื่อให้ได้ อารมณ์ภาพแบบภาพยนต์(cinema look)ดูยิ่งใหญ่อลังการ

image

2. สัดส่วนของภาพขนาด 16:9 หรือเรียกว่าwidescreen เป็นสัดส่วนที่นิยมมากที่สุดในยุคสมัยนี้ ขนาดทั่วๆไปที่ใช้ตามจอคอมพิวเตอร์ จอทีวี และจอโทรศัทพ์มือถือ ลักษณะสัดส่วนก็จะแคบกว่าขนาด 21:9 เล็กน้อยแต่ยังคงความกว้างของจอภาพไว้ การถ่ายวีดิโอ(vdo production)มักจะถ่ายเป็นสัดส่วนนี้และง่ายต่อการใช้งานต่อในการใช้ในการนำเสนอต่อไป

image

3. สัดส่วนของภาพขนาด 3:2 เป็นสัดส่วนภาพที่มีขนาดเต็มเซนเซอร์กล้องนั้นเอง สำหรับงานถ่ายภาพ(Photography)นิยมถ่ายมาเป็นขนาดนี้เพื่อนำไป ตัด ย่อ ภาพหลัง เพื่อให้ได้ภาพที่ขนาดใหญ่ที่สุดตามที่เซนเซอร์ถ่ายออกมาได้แต่กลับไม่เป็นที่นิยม ใช้ในการถ่ายวีดิโอ(vdo production)เพราะถ่ายมาแล้วต้องเข้ากระบวนการ post production เพื่อแก้ขนาดซึ่งมักจะเสียเวลาและยุ่งยาก

image

4. สัดส่วนของภาพขนาด 4:3 หรือเรียกว่าสัดส่วนภาพมาตราฐาน เมื่อก่อนสัดส่วนนี้เคยเป็นที่นิยมและเป็นสัดส่วนหลักในการใช้งานภาพทั้งในทีวี แต่ปัจจุบันถูกลดบทบาทลงแต่ใช้ในการถ่ายวีดิโอ(vdo production)หรือถ่ายภาพ(Photography) เพราะในภาพที่ดูปกติสัดส่วนที่คุ้นเคยมักจะพบสัดส่วนนี้กันบ่อยที่สุด

image

5. สัดส่วนของภาพขนาด 1:1 หรือเรียกว่าสัดส่วนภาพจัตุรัส เป็นสัดส่วนที่กำลังได้รับความนิยมบนโลกโซเชียลมีเดียเนื่องจาก app Instagram ได้นำมาใช้เป็นสัดส่วนหลักในการโพสภาพ สัดส่วนนี้จึงกลับมานิยมอีกครั้ง ใช้ได้ทั้งงานวีดิโอ(vdo production)หรือถ่ายภาพ(Photography) เน้นที่จุดเด่นของภาพได้ง่ายสื่อสารได้ง่าย เป็นสัดส่วนที่เหมาะที่จะดูจากโทรศัทพ์มือถือที่จับถือในแนวตั้ง

image

สุดท้ายนี้ผมได้นำสัดส่วนของภาพที่กล่าวมาทั้งหมดมาเรียง ให้เกิดการดูและเปรียบเทียบได้ง่ายเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษางานด้านวีดิโอ(vdo production) หรือถ่ายภาพ(Photography)